มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ ตามมติของคณะกรรมการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปีพุทธศักราช 2505 ให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงในด้านการเกษตรและวิศวกรรมศาสตร์ขึ้น โดยมีปณิธานและปรัชญาที่ว่าจะเป็นศูนย์รวมทางความคิด สติปัญญาของสังคม และเป็นศูนย์รวมการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันที่ 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2510 ได้มีพระราชดำรัสว่า “การตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นขึ้นอีกแห่งหนึ่งนั้น เป็นคุณอย่างยิ่ง เพราะทำให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภูมิภาคที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของประเทศ ซึ่งต่อไปจะเป็นผลดีแก่การพัฒนา ยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคนี้เป็นอย่างยิ่ง ความสำเร็จในการตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงเป็นความสำเร็จที่ทุกคนควร จะยินดี”มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ยึดมั่นในพระราชดำรัสในการพัฒนามหาวิทยาลัยมาโดยตลอด และในปี 2557 มหาวิทยาลัยขอนแก่นและคณะเกษตรศาสตร์จะมีอายุครบ 50 ปี ทางมหาวิทยาลัยมีนโยบายที่จะเฉลิมฉลองและจัดแสดงผลงานทางวิชาการและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยได้พัฒนาขึ้นมา
ในแต่ละปีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจะมีการจัดงานวันเกษตรภาคอีสาน ซึ่งเป็นงานที่พัฒนามาจากงานวันขายผลิตผลการเกษตรของนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ที่มุ่งเน้นการจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรที่ได้จากการฝึกงานของนักศึกษาโดยนักศึกษา ต่อมาคณะเกษตรศาสตร์ร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พัฒนาขยายขอบข่ายงานเพื่อให้เกิดความยิ่งใหญ่และร่วมงานฉลองวันสถาปนามหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้จัดให้ตรงกับวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี มีการเชิญชวนให้มีการร่วมแสดงผลงานทางวิชาการจากทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่นรวมทั้งภาคเอกชน จากการรายงานผลการประเมินการจัดงานในแต่ละปีพบว่าจะมีนักเรียน นักศึกษา เกษตรกร นักวิชาการและประชาชนผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมงานไม่ต่ำกว่า 500,000 คนต่อปี มีเงินหมุนเวียนในงานมากกว่า 250 ล้านบาทต่อปี
ดังนั้น การจัดงานวันเกษตรภาคอีสาน ในปีพุทธศักราช 2557 จึงเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นและคณะเกษตรศาสตร์มีอายุครบ 50 ปี ในการจัดงานมุ่งเน้นให้มีกิจกรรมในเรื่อง นิทรรศการเทิดพระเกียรติและนิทรรศการเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ในด้านการพัฒนาการเกษตร ความก้าวหน้าของโครงการพระราชดำริฯ ที่มีต่อการพัฒนาประเทศ รวมทั้งการแสดงมหกรรมความก้าวหน้าทางวิชาการและผลงานด้านการเกษตรของคณะเกษตรศาสตร์และหน่วยที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ อาทิ การจัดสัมมนาวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติทางด้านพืชศาสตร์และสัตวศาสตร์ และการเสวนาทางวิชาการเกษตรร่วมกับเครือข่ายผู้นำองค์กร สหกรณ์การเกษตรต่าง ๆ การจัดการนิทรรศการกลางแจ้งของหน่วยงานต่าง ๆ การแสดงผลงานของนักศึกษา การจำหน่ายและการแสดงผลิตภัณฑ์ชั้นนำของกลุ่มเกษตรกร การแสดงผลงานความก้าวจากภาคเอกชน การประกวดอาหารอีสาน การประกวดสินค้าโดดเด่นชุมชน การแสดงบนเวทีและการแข่งขันตอบปัญหาการเกษตร การแสดงความก้าวหน้าทางวิชาการปศุสัตว์และการประมง การประกวดสัตว์และปลา งานวันเกษตรภาคอีสานในครั้งนี้จึงคาดว่าจะเป็นโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและเทคโนโลยีด้านเกษตรในระดับต่าง ๆ การเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ทางการเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตร และเผยแพร่ผลงานด้านพัฒนาการเกษตรตามนโยบายของรัฐ การส่งเสริมกิจกรรมของนักศึกษาให้มีโอกาสแสดงออกเชิงวิชาการและทักษะภาคสนาม การกระตุ้นและส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของอาชีพเกษตรในฐานะผู้ผลิตอาหารและการเป็นครัวของโลกต่อไป จึงนับได้ว่างานวันเกษตรเป็นงานที่มีความสำคัญต่อทุกภาคส่วนในการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่สำคัญยิ่ง
2.เพื่อแลกเปลี่ยนผลงานวิจัยทางการเกษตรของนักวิชาการทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชนและเกษตรกร
3.เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางการเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตรสู่ชุมชน
4.เพื่อฝึกอบรมอาชีพการเกษตรแก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป
5.เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขนาดกลางและขนาดย่อม
6.เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
7.เพื่อกระตุ้นให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา เห็นความสำคัญของอาชีพเกษตรในฐานะผู้ผลิตอาหารและการเป็นครัวของโลก
2.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3.สถาบันอุดมศึกษาด้านการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศในเขตอาเซียน
4.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.กระทรวงพาณิชย์
7.กระทรวงศึกษาธิการ
8.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
9.สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
10.ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ
11.สถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และผลิตผลทางการเกษตร
12.สมาคมศิษย์เก่าคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
1.คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
โทรศัพท์ 0-4320-2360 โทรสาร 0-4320-2361 E-mail :agsecre@kku.ac.th
2.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1.การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ในด้านการพัฒนาการเกษตร
2.การจัดนิทรรศการองค์ความรู้ และเทคโนโลยีการเกษตร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เช่น พืชทดแทนพลังงาน ผลงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะพันธุ์พืชเฉลิมพระ-เกียรติ การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การประมง การนำเทคโนโลยีทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการเกษตร การจัดแสดงระบบการทำฟาร์มที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกร เช่น การจัดแปลงสาธิตไร่นาสวนผสมของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ แปลงสาธิตเกี่ยวกับการปลูกยางพาราร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่นๆ แปลงสาธิตระบบชลประทานแบบประหยัดน้ำของอิสราเอล และการสาธิตฟาร์มเลี้ยงโคนมสำหรับเกษตรกร รวมทั้งการจัดแสดงผลงานวิชาการด้านหม่อนไหม และการใช้ประโยชน์ เป็นต้น นอกจากนี้จะได้มีการจัดแสดงนิทรรศการทางด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ จะได้เชิญหน่วยงานเอกชนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการเกษตรมาร่วมในการจัดแสดงครั้งนี้ด้วย
3.งานโคเนื้อและกระบือแห่งชาติ ครั้งที่ 19
4.การจัดประกวดผลงานทางด้านการเกษตร ได้แก่
- การประกวดสวนครัวพอเพียง
- การประกวดสัตว์ ได้แก่ โคนม โคเนื้อ กระบือ โคพื้นเมือง
- การประกวดปลาสวยงาม
5.การแข่งขันทักษะด้านการเกษตร ได้แก่ การแข่งขันคล้องโค การแข่งขันสาวไหม การแข่งขันจับปลาไหล การแข่งขันกรีดยาง เป็นต้น
6.การแข่งขันการตอบปัญหาการเกษตรสำหรับนักเรียน และนักศึกษา
7.การประกวด/แข่งขันชุดอาหารอีสานเพื่อสุขภาพ
8.การประกวดเผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาชาวบ้าน
9.การจัดประชุมวิชาการเกษตร การเสวนาวิชาการและการฝึกอบรมอาชีพเกษตร เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์เกษตรและอุตสาหกรรมไปใช้ประโยชน์
10.การจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรของสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ การออกร้านแสดงผลิตภัณฑ์ และจำหน่ายผลิตผลของห้างร้านเอกชน นักศึกษาและส่วนราชการต่าง ๆ
2.เกษตรกรสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปพัฒนาอาชีพการเกษตรให้ดีขึ้น
3.เป็นการเผยแพร่พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ที่ได้จากการวิจัยค้นคว้าของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในหมู่ของเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการเกษตรให้ก้าวหน้าต่อไป
4.เกิดเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่างหน่วยงานอันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป
5.รับทราบปัญหาทางการเกษตรจากการสัมมนา การเสวนาทางการเกษตรที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนางานวิจัยในอนาคตต่อไป
สร้างรายได้ให้แก่นักศึกษาที่นำผลผลิตทางการเกษตรมาจำหน่ายในงานและจากการที่นักศึกษาได้รับค่าตอบแทนจากผู้ประกอบการที่ได้จ้างนักศึกษาช่วยงาน ซึ่งจะเป็นการฝึกทักษะและบ่มเพาะประสบการณ์ทางด้านการตลาดให้แก่นักศึกษาด้วย
การจัดงานวันเกษตรภาคอีสานมีหน่วยงานและกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทางการเกษตร รวมทั้งสถาบันเกษตรกรเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่มีลักษณะคล้ายกันได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างเครือข่ายในการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของตนเอง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ที่เข้ามาเที่ยวชมงานเห็นความสำคัญของภาคการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักเรียน นักศึกษา และเยาวชนของชาติตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป
นอกจากนี้การจัดงานวันเกษตรภาคอีสานยังได้จัดให้มีการประกวดและแข่งขันภูมิปัญญาพื้นบ้าน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ควรฟื้นฟูและอนุรักษ์ไว้ชั่วลูกชั่วหลาน รวมทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของวัฒนธรรมและเป็นการเผยแพร่สู่สาธารณชน การดำเนินการดังกล่าวจะก่อให้เกิดการถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่คนรุ่นหลังอย่างต่อเนื่อง ผู้มีทักษะดังกล่าวมีความภาคภูมิใจที่หน่วยงานสำคัญของประเทศได้แก่มหาวิทยาลัยยังเห็นความสำคัญของศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้าน
ดังนั้น การจัดงานวันเกษตรภาคอีสาน ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงเป็นการแสดงถึงศักยภาพด้านการเกษตรของประเทศไทยสู่ประชาชนและเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและต่อประเทศในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ดังนั้น การจัดงานวันเกษตรภาคอีสาน ในปีพุทธศักราช 2557 จึงเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นและคณะเกษตรศาสตร์มีอายุครบ 50 ปี ในการจัดงานมุ่งเน้นให้มีกิจกรรมในเรื่อง นิทรรศการเทิดพระเกียรติและนิทรรศการเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ในด้านการพัฒนาการเกษตร ความก้าวหน้าของโครงการพระราชดำริฯ ที่มีต่อการพัฒนาประเทศ รวมทั้งการแสดงมหกรรมความก้าวหน้าทางวิชาการและผลงานด้านการเกษตรของคณะเกษตรศาสตร์และหน่วยที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ อาทิ การจัดสัมมนาวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติทางด้านพืชศาสตร์และสัตวศาสตร์ และการเสวนาทางวิชาการเกษตรร่วมกับเครือข่ายผู้นำองค์กร สหกรณ์การเกษตรต่าง ๆ การจัดการนิทรรศการกลางแจ้งของหน่วยงานต่าง ๆ การแสดงผลงานของนักศึกษา การจำหน่ายและการแสดงผลิตภัณฑ์ชั้นนำของกลุ่มเกษตรกร การแสดงผลงานความก้าวจากภาคเอกชน การประกวดอาหารอีสาน การประกวดสินค้าโดดเด่นชุมชน การแสดงบนเวทีและการแข่งขันตอบปัญหาการเกษตร การแสดงความก้าวหน้าทางวิชาการปศุสัตว์และการประมง การประกวดสัตว์และปลา งานวันเกษตรภาคอีสานในครั้งนี้จึงคาดว่าจะเป็นโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและเทคโนโลยีด้านเกษตรในระดับต่าง ๆ การเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ทางการเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตร และเผยแพร่ผลงานด้านพัฒนาการเกษตรตามนโยบายของรัฐ การส่งเสริมกิจกรรมของนักศึกษาให้มีโอกาสแสดงออกเชิงวิชาการและทักษะภาคสนาม การกระตุ้นและส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของอาชีพเกษตรในฐานะผู้ผลิตอาหารและการเป็นครัวของโลกต่อไป จึงนับได้ว่างานวันเกษตรเป็นงานที่มีความสำคัญต่อทุกภาคส่วนในการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่สำคัญยิ่ง
วัตถุประสงค์
1.เพื่อจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติและนิทรรศการเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ในด้านการพัฒนาการเกษตร2.เพื่อแลกเปลี่ยนผลงานวิจัยทางการเกษตรของนักวิชาการทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชนและเกษตรกร
3.เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางการเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตรสู่ชุมชน
4.เพื่อฝึกอบรมอาชีพการเกษตรแก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป
5.เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขนาดกลางและขนาดย่อม
6.เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
7.เพื่อกระตุ้นให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา เห็นความสำคัญของอาชีพเกษตรในฐานะผู้ผลิตอาหารและการเป็นครัวของโลก
กำหนดวัน เวลา จัดงาน
ระหว่างวันศุกร์ที่ 24 มกราคม - วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน
ประมาณ 7,000,000 บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน)สถานที่จัดงาน
อุทยานเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 60 ไร่ และและหมวดงานไร่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นหน่วยงานที่ร่วมจัดงาน
1.มหาวิทยาลัยขอนแก่น2.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3.สถาบันอุดมศึกษาด้านการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศในเขตอาเซียน
4.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.กระทรวงพาณิชย์
7.กระทรวงศึกษาธิการ
8.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
9.สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
10.ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ
11.สถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และผลิตผลทางการเกษตร
12.สมาคมศิษย์เก่าคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้รับผิดชอบโครงการ
1.คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นโทรศัพท์ 0-4320-2360 โทรสาร 0-4320-2361 E-mail :agsecre@kku.ac.th
2.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
การดำเนินงาน
เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ ในการจัดงานวันเกษตรภาคอีสาน ประจำปี 2557 จะมีการดำเนินงาน ดังนี้1.การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ในด้านการพัฒนาการเกษตร
2.การจัดนิทรรศการองค์ความรู้ และเทคโนโลยีการเกษตร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เช่น พืชทดแทนพลังงาน ผลงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะพันธุ์พืชเฉลิมพระ-เกียรติ การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การประมง การนำเทคโนโลยีทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการเกษตร การจัดแสดงระบบการทำฟาร์มที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกร เช่น การจัดแปลงสาธิตไร่นาสวนผสมของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ แปลงสาธิตเกี่ยวกับการปลูกยางพาราร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่นๆ แปลงสาธิตระบบชลประทานแบบประหยัดน้ำของอิสราเอล และการสาธิตฟาร์มเลี้ยงโคนมสำหรับเกษตรกร รวมทั้งการจัดแสดงผลงานวิชาการด้านหม่อนไหม และการใช้ประโยชน์ เป็นต้น นอกจากนี้จะได้มีการจัดแสดงนิทรรศการทางด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ จะได้เชิญหน่วยงานเอกชนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการเกษตรมาร่วมในการจัดแสดงครั้งนี้ด้วย
3.งานโคเนื้อและกระบือแห่งชาติ ครั้งที่ 19
4.การจัดประกวดผลงานทางด้านการเกษตร ได้แก่
- การประกวดสวนครัวพอเพียง
- การประกวดสัตว์ ได้แก่ โคนม โคเนื้อ กระบือ โคพื้นเมือง
- การประกวดปลาสวยงาม
5.การแข่งขันทักษะด้านการเกษตร ได้แก่ การแข่งขันคล้องโค การแข่งขันสาวไหม การแข่งขันจับปลาไหล การแข่งขันกรีดยาง เป็นต้น
6.การแข่งขันการตอบปัญหาการเกษตรสำหรับนักเรียน และนักศึกษา
7.การประกวด/แข่งขันชุดอาหารอีสานเพื่อสุขภาพ
8.การประกวดเผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาชาวบ้าน
9.การจัดประชุมวิชาการเกษตร การเสวนาวิชาการและการฝึกอบรมอาชีพเกษตร เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์เกษตรและอุตสาหกรรมไปใช้ประโยชน์
10.การจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรของสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ การออกร้านแสดงผลิตภัณฑ์ และจำหน่ายผลิตผลของห้างร้านเอกชน นักศึกษาและส่วนราชการต่าง ๆ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.เกษตรกรสามารถนำแนวความคิดและเทคโนโลยีที่ได้รับจากการแสดงนิทรรศการไปใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของการผลิตในฟาร์มให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและสภาวะการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก2.เกษตรกรสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปพัฒนาอาชีพการเกษตรให้ดีขึ้น
3.เป็นการเผยแพร่พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ที่ได้จากการวิจัยค้นคว้าของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในหมู่ของเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการเกษตรให้ก้าวหน้าต่อไป
4.เกิดเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่างหน่วยงานอันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป
5.รับทราบปัญหาทางการเกษตรจากการสัมมนา การเสวนาทางการเกษตรที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนางานวิจัยในอนาคตต่อไป
ผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคม
ในช่วงเวลาการจัดงานวันเกษตรภาคอีสานที่ผ่านมานอกจากจะมีผลกระทบโดยตรงทางด้านวิชาการซึ่งเป็นเป้าหมายหลักแล้วยังส่งผลกระทบต่อทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน กล่าวคือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดขอนแก่นและภาคอีสาน ผู้ประกอบการที่นำสินค้าเกษตรมาจำหน่ายในงานทั้งภาครัฐ เอกชนและเกษตรกร ซึ่งตลอดระยะเวลา ๑๐ วันของการจัดงาน มีเงินหมุนเวียน ไม่น้อยกว่า ๒๕๐ ล้านบาทสร้างรายได้ให้แก่นักศึกษาที่นำผลผลิตทางการเกษตรมาจำหน่ายในงานและจากการที่นักศึกษาได้รับค่าตอบแทนจากผู้ประกอบการที่ได้จ้างนักศึกษาช่วยงาน ซึ่งจะเป็นการฝึกทักษะและบ่มเพาะประสบการณ์ทางด้านการตลาดให้แก่นักศึกษาด้วย
การจัดงานวันเกษตรภาคอีสานมีหน่วยงานและกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทางการเกษตร รวมทั้งสถาบันเกษตรกรเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่มีลักษณะคล้ายกันได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างเครือข่ายในการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของตนเอง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ที่เข้ามาเที่ยวชมงานเห็นความสำคัญของภาคการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักเรียน นักศึกษา และเยาวชนของชาติตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป
นอกจากนี้การจัดงานวันเกษตรภาคอีสานยังได้จัดให้มีการประกวดและแข่งขันภูมิปัญญาพื้นบ้าน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ควรฟื้นฟูและอนุรักษ์ไว้ชั่วลูกชั่วหลาน รวมทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของวัฒนธรรมและเป็นการเผยแพร่สู่สาธารณชน การดำเนินการดังกล่าวจะก่อให้เกิดการถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่คนรุ่นหลังอย่างต่อเนื่อง ผู้มีทักษะดังกล่าวมีความภาคภูมิใจที่หน่วยงานสำคัญของประเทศได้แก่มหาวิทยาลัยยังเห็นความสำคัญของศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้าน
ดังนั้น การจัดงานวันเกษตรภาคอีสาน ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงเป็นการแสดงถึงศักยภาพด้านการเกษตรของประเทศไทยสู่ประชาชนและเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและต่อประเทศในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น