วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

งาน เกษตร ปี 2557

        มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ ตามมติของคณะกรรมการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปีพุทธศักราช 2505  ให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงในด้านการเกษตรและวิศวกรรมศาสตร์ขึ้น โดยมีปณิธานและปรัชญาที่ว่าจะเป็นศูนย์รวมทางความคิด สติปัญญาของสังคม และเป็นศูนย์รวมการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเมื่อครั้งที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในวันที่ 20 ธันวาคม พุทธศักราช 2510 ได้มีพระราชดำรัสว่า “การตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นขึ้นอีกแห่งหนึ่งนั้น เป็นคุณอย่างยิ่ง เพราะทำให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภูมิภาคที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของประเทศ ซึ่งต่อไปจะเป็นผลดีแก่การพัฒนา ยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคนี้เป็นอย่างยิ่ง ความสำเร็จในการตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงเป็นความสำเร็จที่ทุกคนควร จะยินดี”มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ยึดมั่นในพระราชดำรัสในการพัฒนามหาวิทยาลัยมาโดยตลอด และในปี 2557 มหาวิทยาลัยขอนแก่นและคณะเกษตรศาสตร์จะมีอายุครบ 50 ปี ทางมหาวิทยาลัยมีนโยบายที่จะเฉลิมฉลองและจัดแสดงผลงานทางวิชาการและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยได้พัฒนาขึ้นมา

ในแต่ละปีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นจะมีการจัดงานวันเกษตรภาคอีสาน ซึ่งเป็นงานที่พัฒนามาจากงานวันขายผลิตผลการเกษตรของนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ ที่มุ่งเน้นการจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรที่ได้จากการฝึกงานของนักศึกษาโดยนักศึกษา ต่อมาคณะเกษตรศาสตร์ร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พัฒนาขยายขอบข่ายงานเพื่อให้เกิดความยิ่งใหญ่และร่วมงานฉลองวันสถาปนามหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้จัดให้ตรงกับวันที่  25 มกราคม ของทุกปี มีการเชิญชวนให้มีการร่วมแสดงผลงานทางวิชาการจากทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่นรวมทั้งภาคเอกชน จากการรายงานผลการประเมินการจัดงานในแต่ละปีพบว่าจะมีนักเรียน นักศึกษา เกษตรกร นักวิชาการและประชาชนผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมงานไม่ต่ำกว่า 500,000 คนต่อปี มีเงินหมุนเวียนในงานมากกว่า 250 ล้านบาทต่อปี
ดังนั้น การจัดงานวันเกษตรภาคอีสาน  ในปีพุทธศักราช 2557  จึงเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นและคณะเกษตรศาสตร์มีอายุครบ 50 ปี  ในการจัดงานมุ่งเน้นให้มีกิจกรรมในเรื่อง นิทรรศการเทิดพระเกียรติและนิทรรศการเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ในด้านการพัฒนาการเกษตร ความก้าวหน้าของโครงการพระราชดำริฯ ที่มีต่อการพัฒนาประเทศ รวมทั้งการแสดงมหกรรมความก้าวหน้าทางวิชาการและผลงานด้านการเกษตรของคณะเกษตรศาสตร์และหน่วยที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ  อาทิ การจัดสัมมนาวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติทางด้านพืชศาสตร์และสัตวศาสตร์ และการเสวนาทางวิชาการเกษตรร่วมกับเครือข่ายผู้นำองค์กร สหกรณ์การเกษตรต่าง ๆ การจัดการนิทรรศการกลางแจ้งของหน่วยงานต่าง ๆ การแสดงผลงานของนักศึกษา การจำหน่ายและการแสดงผลิตภัณฑ์ชั้นนำของกลุ่มเกษตรกร การแสดงผลงานความก้าวจากภาคเอกชน การประกวดอาหารอีสาน การประกวดสินค้าโดดเด่นชุมชน การแสดงบนเวทีและการแข่งขันตอบปัญหาการเกษตร การแสดงความก้าวหน้าทางวิชาการปศุสัตว์และการประมง การประกวดสัตว์และปลา งานวันเกษตรภาคอีสานในครั้งนี้จึงคาดว่าจะเป็นโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและเทคโนโลยีด้านเกษตรในระดับต่าง ๆ การเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ทางการเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตร และเผยแพร่ผลงานด้านพัฒนาการเกษตรตามนโยบายของรัฐ  การส่งเสริมกิจกรรมของนักศึกษาให้มีโอกาสแสดงออกเชิงวิชาการและทักษะภาคสนาม การกระตุ้นและส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของอาชีพเกษตรในฐานะผู้ผลิตอาหารและการเป็นครัวของโลกต่อไป จึงนับได้ว่างานวันเกษตรเป็นงานที่มีความสำคัญต่อทุกภาคส่วนในการเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเกษตรที่สำคัญยิ่ง

วัตถุประสงค์

1.เพื่อจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติและนิทรรศการเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ในด้านการพัฒนาการเกษตร
2.เพื่อแลกเปลี่ยนผลงานวิจัยทางการเกษตรของนักวิชาการทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชนและเกษตรกร
3.เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางการเกษตรและเทคโนโลยีการเกษตรสู่ชุมชน
4.เพื่อฝึกอบรมอาชีพการเกษตรแก่เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป
5.เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขนาดกลางและขนาดย่อม
6.เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
7.เพื่อกระตุ้นให้เยาวชน  นักเรียน  นักศึกษา  เห็นความสำคัญของอาชีพเกษตรในฐานะผู้ผลิตอาหารและการเป็นครัวของโลก

กำหนดวัน เวลา จัดงาน

ระหว่างวันศุกร์ที่ 24 มกราคม  - วันอาทิตย์ที่  2 กุมภาพันธ์ 2557

งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน

ประมาณ 7,000,000 บาท   (เจ็ดล้านบาทถ้วน)

สถานที่จัดงาน

อุทยานเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 60 ไร่ และและหมวดงานไร่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หน่วยงานที่ร่วมจัดงาน

1.มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3.สถาบันอุดมศึกษาด้านการเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและประเทศในเขตอาเซียน
4.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.กระทรวงพาณิชย์
7.กระทรวงศึกษาธิการ
8.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
9.สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
10.ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ
11.สถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และผลิตผลทางการเกษตร
12.สมาคมศิษย์เก่าคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ผู้รับผิดชอบโครงการ

1.คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
โทรศัพท์ 0-4320-2360  โทรสาร 0-4320-2361   E-mail :agsecre@kku.ac.th
2.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

การดำเนินงาน

เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ ในการจัดงานวันเกษตรภาคอีสาน ประจำปี 2557 จะมีการดำเนินงาน ดังนี้
1.การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ ในด้านการพัฒนาการเกษตร
2.การจัดนิทรรศการองค์ความรู้ และเทคโนโลยีการเกษตร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เช่น พืชทดแทนพลังงาน ผลงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะพันธุ์พืชเฉลิมพระ-เกียรติ การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ การประมง การนำเทคโนโลยีทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการเกษตร การจัดแสดงระบบการทำฟาร์มที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกร เช่น การจัดแปลงสาธิตไร่นาสวนผสมของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ แปลงสาธิตเกี่ยวกับการปลูกยางพาราร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่นๆ แปลงสาธิตระบบชลประทานแบบประหยัดน้ำของอิสราเอล และการสาธิตฟาร์มเลี้ยงโคนมสำหรับเกษตรกร รวมทั้งการจัดแสดงผลงานวิชาการด้านหม่อนไหม และการใช้ประโยชน์ เป็นต้น นอกจากนี้จะได้มีการจัดแสดงนิทรรศการทางด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ จะได้เชิญหน่วยงานเอกชนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาการเกษตรมาร่วมในการจัดแสดงครั้งนี้ด้วย
3.งานโคเนื้อและกระบือแห่งชาติ ครั้งที่ 19
4.การจัดประกวดผลงานทางด้านการเกษตร ได้แก่
-   การประกวดสวนครัวพอเพียง
-   การประกวดสัตว์ ได้แก่ โคนม โคเนื้อ กระบือ โคพื้นเมือง
-   การประกวดปลาสวยงาม
5.การแข่งขันทักษะด้านการเกษตร ได้แก่ การแข่งขันคล้องโค การแข่งขันสาวไหม การแข่งขันจับปลาไหล การแข่งขันกรีดยาง เป็นต้น
6.การแข่งขันการตอบปัญหาการเกษตรสำหรับนักเรียน และนักศึกษา
7.การประกวด/แข่งขันชุดอาหารอีสานเพื่อสุขภาพ
8.การประกวดเผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาชาวบ้าน
9.การจัดประชุมวิชาการเกษตร การเสวนาวิชาการและการฝึกอบรมอาชีพเกษตร เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์เกษตรและอุตสาหกรรมไปใช้ประโยชน์
10.การจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตรของสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ การออกร้านแสดงผลิตภัณฑ์ และจำหน่ายผลิตผลของห้างร้านเอกชน นักศึกษาและส่วนราชการต่าง ๆ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกษตรกรสามารถนำแนวความคิดและเทคโนโลยีที่ได้รับจากการแสดงนิทรรศการไปใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของการผลิตในฟาร์มให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและสภาวะการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก
2.เกษตรกรสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปพัฒนาอาชีพการเกษตรให้ดีขึ้น
3.เป็นการเผยแพร่พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ที่ได้จากการวิจัยค้นคว้าของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในหมู่ของเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการเกษตรให้ก้าวหน้าต่อไป
4.เกิดเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและความร่วมมืออย่างต่อเนื่องระหว่างหน่วยงานอันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป
5.รับทราบปัญหาทางการเกษตรจากการสัมมนา การเสวนาทางการเกษตรที่จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนางานวิจัยในอนาคตต่อไป

ผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและสังคม

ในช่วงเวลาการจัดงานวันเกษตรภาคอีสานที่ผ่านมานอกจากจะมีผลกระทบโดยตรงทางด้านวิชาการซึ่งเป็นเป้าหมายหลักแล้วยังส่งผลกระทบต่อทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน กล่าวคือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมของจังหวัดขอนแก่นและภาคอีสาน ผู้ประกอบการที่นำสินค้าเกษตรมาจำหน่ายในงานทั้งภาครัฐ เอกชนและเกษตรกร ซึ่งตลอดระยะเวลา ๑๐ วันของการจัดงาน มีเงินหมุนเวียน ไม่น้อยกว่า ๒๕๐ ล้านบาท
สร้างรายได้ให้แก่นักศึกษาที่นำผลผลิตทางการเกษตรมาจำหน่ายในงานและจากการที่นักศึกษาได้รับค่าตอบแทนจากผู้ประกอบการที่ได้จ้างนักศึกษาช่วยงาน ซึ่งจะเป็นการฝึกทักษะและบ่มเพาะประสบการณ์ทางด้านการตลาดให้แก่นักศึกษาด้วย
การจัดงานวันเกษตรภาคอีสานมีหน่วยงานและกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทางการเกษตร รวมทั้งสถาบันเกษตรกรเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่มีลักษณะคล้ายกันได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างเครือข่ายในการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของตนเอง นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ที่เข้ามาเที่ยวชมงานเห็นความสำคัญของภาคการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักเรียน นักศึกษา และเยาวชนของชาติตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป
นอกจากนี้การจัดงานวันเกษตรภาคอีสานยังได้จัดให้มีการประกวดและแข่งขันภูมิปัญญาพื้นบ้าน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ควรฟื้นฟูและอนุรักษ์ไว้ชั่วลูกชั่วหลาน รวมทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของวัฒนธรรมและเป็นการเผยแพร่สู่สาธารณชน การดำเนินการดังกล่าวจะก่อให้เกิดการถ่ายทอดภูมิปัญญาสู่คนรุ่นหลังอย่างต่อเนื่อง ผู้มีทักษะดังกล่าวมีความภาคภูมิใจที่หน่วยงานสำคัญของประเทศได้แก่มหาวิทยาลัยยังเห็นความสำคัญของศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้าน
ดังนั้น การจัดงานวันเกษตรภาคอีสาน ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงเป็นการแสดงถึงศักยภาพด้านการเกษตรของประเทศไทยสู่ประชาชนและเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและต่อประเทศในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง










วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

งานเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น ปี 56

งานเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น ปี 56 เน้นการจัดกิจกรรมสู่นานาชาติ ทั้งการประชุมวิชาการไหมนานาชาติ ,การแสดงไหมและผลิตภัณฑ์ไหมการแสดงศิลปวัฒนธรรมจากชาติอาเซียน และเน้นอนุรักษ์ประเพณีผูกเสี่ยวให้คงอยู่คู่ขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่นร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกรมหม่อนไหม ได้กำหนดจัดงานเทศกาลไหมนานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาด ประจำปี 2556 ขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 ถึงวันที่ 10 ธันวาคม 2556 ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดขอนแก่น นั้น ในปีนี้คณะกรรมการจัดงานได้เปลี่ยนรูปแบบและจุดเด่น (HIGTHLIGHT) ของการจัดงานให้แตกต่างไปจากที่ผ่านมา
โดยเฉพาะเป็นการเน้นการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานไหม ให้ก้าวสู่สากล เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ผ้าไหมของจังหวัดขอนแก่น และของไทยไปสู่เซียน ,สู่นานาชาติสากล อาทิ การจัดแสดงจำืหน่ายผ้าไหม และสินค้าเกี่ยวกับไหม จาก 6 ชาติสมาชิก GMS คือ จีน พม่า ลาว ไทย เวียตนาม กัมพูชา
การจัดแสดงนิทรรศการและจำหน่ายผ้าไหมนานาชาติ และจากจังหวัดต่างๆ ของประเทศไทย
การประชุมวิชาการเกี่ยวกับผ้าไหม วงจรชีวิตของไหม และการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมจาก 6 ชาติ GMS
นอกจากนี้ จังหวัดขอนแก่นก็จะยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีการผูกเสี่ยว ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดและอยู่คู่กับจังหวัดขอนแก่นให้คงอยู่สืบไป โดยการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานไหมนานาชาติจะจัดอยู่ในพื้นที่ โดมปรับอากาศ ขนาด 40 x 40 เมตร จำนวน 2 โดม
นอกจากจะเป็นการจัดงานไหมสู่สากลและการอนุรักษ์ประเพณีผูกเสี่ยวแล้ว ก็ยังมีกิจกรรมการออกร้านของส่วนราชการ อำเภอต่าง ๆ บริษัท ห้างร้านเอกชน การจำหน่ายสินค้าโอท็อป สินค้าหัตถกรรมท้องถิ่น การแสดงมหรสพ ดนตรี คอนเสิร์ต ตลอด 12 วัน การจำหน่ายสินค้าราคาถูก และการออกร้านธารากาชาด ของเหล่ากาชาดจังหวัดขอนแก่น เพื่อหารายได้นำไปช่วยเหลือราษฎรที่เดือดร้อน และประสบสาธารณภัยต่างๆ
ณ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น








วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

(ERP) Enterprise Resource Planning

ระบบอีอาร์พี ERP คืออะไร
ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning 
ERP คือ การวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดของทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร คือระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน เช่น หากเป็น ERP ของบริษัทจะหมายรวมตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชี และการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า เพื่อช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรของบริษัทนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอน (Algorithm) การทำงานได้อีกด้วย

ปัจจุบัน ERP มีการพัฒนาไปสู่รูปแบบโปรแกรมสำเร็จรูป ERP ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์มาตรฐาน สามารถได้รับการติดตั้งและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย ERP sotfware มีหน้าที่รวบรวมส่วนประกอบทางธุรกิจต่างๆ เช่น งานวางแผน (Planning) งานผลิต (Production) งานขาย (Sale) งานทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource) และงานบัญชีการเงิน (Accounting/Finance) ระบบขายหน้าร้าน POSPOS แล้วเชื่อมโยงส่วนงานต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้มีการใช้ข้อมูลร่วมกันจากฐานข้อมูลเดียวกัน มีการใช้กระบวนการที่เป็นมาตรฐานร่วมกัน (Common Processes) ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการทำงานกระบวนการทางธุรกิจขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด  ข้อดีของการรวมข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน เพื่อให้ข้อมูลเดียวกันสามารถใช้ร่วมกันทั้งองค์กรได้

ERP sotfware คือ ซอฟต์แวร์ที่มีการรวบรวม หรือผนวกฟังก์ชันงานทั้งหมดในองค์กร หรือมีการเชื่อมโยงในส่วนของโมดูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยมีการทำงานในลักษณะแบบเรียลไทม์ และ ERP sotfware จะได้รับการออกแบบมาบนพื้นฐานของวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ (Best Practice) ก็คือมีการกำหนดในส่วนของกระบวนการทางธุรกิจ ที่มีการทดสอบ และสำรวจมาแล้วว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในอุตสาหกรรมนั้นๆ ไว้ในตัวของ ERP sotfware โดยที่ ERP sotfware จะสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลักษณะการดำเนินงานขององค์กรนั้น

ตัวอย่างผู้จัดจำหน่าย ERP 
SAP
Oracle Applications
Infor Global Solutions
The Sage Group
Microsoft

เครดิตเว็บ  http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2056-erp-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

ระบบสารสนเทศ 6 ชนิด

ประเภทของระบบสารสนเทศ
     ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป 
     พิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้ (Laudon & Laudon, 2001)
        1. ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems - TPS) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ ทำการบันทึกจัดเก็บ ประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานแทนการทำงานด้วยมือ ทั้งนี้เพื่อที่จะทำการสรุปข้อมูลเพื่อสร้างเป็นสารสนเทศ ระบบประมวลผลรายการนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้า ตัวอย่าง เช่น ระบบการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน ระบบการฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น ในระบบต้องสร้างฐานข้อมูลที่จำเป็น ระบบนี้มักจัดทำเพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารระดับต้นเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานประจำได้ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักจะอยู่ในรูปของ รายงานที่มีรายละเอียด รายงานผลเบื้องต้น
        2. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS) เป็นระบบที่สนับสนุนงานในสำนักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทำงานของบุคลากรรวมทั้งกับบุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ด้านการพิมพ์ การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของเอกสาร กำหนดการ สิ่งพิมพ์ 
        3. ระบบงานสร้างความรู้ (Knowledge Work Systems - KWS) เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุน บุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริการใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์ ตัวแบบ รูปแบบ เป็นต้น 
        4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems- MIS) เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง ใช้ในการวางแผน การบริหารจัดการ และการควบคุม ระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในระบบประมวลผลรายการเข้าด้วยกัน เพื่อประมวลและสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารงาน ตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารงานบุคลากร ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของรายงานสรุป รายงานของสิ่งผิดปกติ
        5. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems – DSS) เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหา หรือที่มีโครงสร้างหรือขั้นตอนในการหาคำตอบที่แน่นอนเพียงบางส่วน ข้อมูลที่ใช้ต้องอาศัยทั้งข้อมูลภายในกิจการและภายนอกกิจการประกอบกัน ระบบยังต้องสามารถเสนอทางเลือกให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสถานการณ์นั้น หลักการของระบบ สร้างขึ้นจากแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการตัดสินใจ โดยให้ผู้ใช้โต้ตอบโดยตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ โดยอาศัยประสบการณ์ และ ความสามารถของผู้บริหารเอง ผู้บริหารอาจกำหนดเงื่อนไขและทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ไปจนกระทั่งพบสถานการณ์ที่เหมาะสมที่สุด แล้วใช้เป็นสารสนเทศที่ช่วยตัดสินใจ รูปแบบของผลลัพธ์ อาจจะอยู่ในรูปของ รายงานเฉพาะกิจ รายงานการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ การทำนาย หรือ พยากรณ์เหตุการณ์
        6. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System - EIS) เป็นระบบที่สร้างสารสนเทศเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทำหน้าที่กำหนดแผนระยะยาวและเป้าหมายของกิจการ สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงนี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลภายนอกกิจกรรมเป็นอย่างมาก ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุค Globalization ข้อมูลระดับโลก แนวโน้มระดับสากลเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันของธุรกิจ ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของการพยากรณ์/การคาดการณ์ 


เครดิต http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/22/cit/8_2.html

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ตำแหน่งที่ต้องการในการทำงาน

ตำแหน่งที่ผมอยากจะเป็นคือ Senior Manager เป็นตำแหน่งที่จะคอยดูแลตรวจสอบหาจุดด้อยจุดแข็งของพนักงาน และ องค์กร ว่าคนเป็นอย่าง แล้ว วางแผนระบบงานต่างๆ เพื่อพัฒนาองค์กรให้ดีขึ้น เพื่อทำให้องค์กรนั้นๆ มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ให้อยู่ในมาตรฐาน คอยดูแลเพื่อไม่ให้ต่ำกว่ามาตรฐาน


นายภาคภูมิ สุทุม  5562110007

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ - management information system (MIS)

เป็นระบบขั้นพื้นฐานในการจัดการสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารในองค์กรว่าควรจะทำอย่างไรเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ระบบจะครอบคลุมไปถึงด้าน บุคคล เทคโนโลยี เอกสาร ขั้นตอนการทำงาน จะช่วยในการทำงานด้านต่างๆให้มีประสิทธิภาพและยังมีระบบช่วยในการตัดสินใจเพื่อใช้ในการ การวางแผน กลยุทธต่างๆ ที่ใช้ในการบริหาร องค์กรนั้นๆ



นายภาคภูมิ สุทุม  5562110007